บทที่ 1 บทนำ

1.1.     ความเป็นมาของโครงการ

กรมทางหลวงชนบท ได้รับการร้องเรียนจากผู้ใช้เส้นทางเพื่อการสัญจร นบ.1009 แยก ทล.9-บ.หนองไผ่ขาด (ตอนที่ 3) อ.บางใหญ่, บางบัวทอง จ.นนทบุรี ระยะทางทั้งสิ้น 3.638 กิโลเมตร เนื่องจากในปัจจุบัน         อ.บางใหญ่ และ อ.บางบัวทอง มีการขยายตัวของชุมชนอย่างรวดเร็ว มีหมู่บ้านจัดสรรเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้การจราจรที่ออกสู่ ถนนสาย ทล.9 ซึ่งเป็นสายหลักติดขัดอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาเร่งด่วน ทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นบ่อยครั้ง สร้างความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน เนื่องจากถนนเดิมเป็นถนนลาดยาง Ac. กว้าง 6.00 เมตร ไม่มีไหล่ทาง อยู่บนพื้นที่ดินอ่อนและติดคันคลองตลอดสายทาง ซึ่งมีสภาพชำรุดเสียหายเป็นอย่างมาก เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรภายในพื้นที่ชุมชนชานเมือง เพื่อความสะดวกปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนผู้ใช้รถ ใช้ถนน และแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้นทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

1.2.     วัตถุประสงค์

กรมทางหลวงชนบท กระทรวงคมนาคม ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า "กรม" มีความประสงค์จะว่าจ้างวิศวกรที่ปรึกษา ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า "ที่ปรึกษา" ดำเนินการควบคุมงานก่อสร้างถนนสาย นบ.1009 แยก ทล.9-บ.หนองไผ่ขาด (ตอนที่ 3) อ.บางใหญ่, บางบัวทอง จ.นนทบุรี ความยาวพื้นที่ก่อสร้างของโครงการรวมทั้งสิ้น 3.638 กิโลเมตร และได้กำหนดระยะเวลาการก่อสร้างไว้ 720 วัน

1.3.     ภารกิจของที่ปรึกษา

                   ที่ปรึกษาจะทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมงานหรือวิศวกรของผู้ว่าจ้างตามที่ระบุไว้ในเอกสารประกวดราคา และจะต้องควบคุมการก่อสร้างให้เสร็จเรียบร้อยโดยสมบูรณ์ เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2-5) และระเบียบอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งลักษณะของโครงการก่อสร้างถนน นบ.1009 แยก ทล.9-บ.หนองไผ่ขาด (ตอนที่ 3) อ.บางใหญ่, บางบัวทอง จ.นนทบุรี เป็นการก่อสร้างปรับปรุงขยายผิวจราจรแอสฟัลต์คอนกรีต ขนาด 2 ช่องจราจร พร้อมทางเท้า และกำแพงกันดิน พร้อมทั้งสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก มีระบบไฟฟ้าแสงสว่าง ระบบอำนวยความปลอดภัยการจราจร และระบบระบายน้ำ ระยะทางรวมประมาณ 3.638 กิโลเมตร

 

1.4.     ขอบข่ายของงานและหน้าที่ของที่ปรึกษา

            ที่ปรึกษาจะทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมงานหรือวิศวกรของผู้ว่าจ้างตามที่ระบุไว้ในเอกสารประกวดราคา และจะต้องควบคุมการก่อสร้างให้เสร็จเรียบร้อยโดยสมบูรณ์ เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2-5) และระเบียบอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วยงานดังต่อไปนี้

1.4.1    งานควบคุมการก่อสร้างและบริหารโครงการ

1)  กำกับดูแลผู้รับจ้างในการสำรวจเขตทางเพื่อกำหนดเขตก่อสร้าง พร้อมทั้งแนะนำผู้รับจ้างถึงตำแหน่ง จุดพิกัด และระดับของหมุดหลักฐานของโครงการ รวมถึงให้คำแนะนำแก่ผู้รับจ้างทำการจัดทำหมุดหลักฐานชั่วคราวเพิ่มเติมเพื่อง่ายต่อการก่อสร้างและตรวจสอบ

2)  กำกับดูแลผู้รับจ้างในการประสานงานกับผู้แทนของสำนักงานทางหลวงชนบทจังหวัดหรือเจ้าหน้าที่ของ  กรมเพื่อปักหมุดเขตที่ดิน (เพิ่มเติม) ตามเขตที่ดินที่กรมได้รับมอบจาก ผู้ที่อุทิศที่ดินหรือตามเขตที่ดินที่ได้จากการเวนคืนไว้ และร่วมประสานงานแก้ไขปัญหาอุปสรรคเพื่อให้สามารถส่งมอบพื้นที่ให้แก่ผู้รับจ้างได้

3)  ควบคุมการก่อสร้างตามรายละเอียดของงานทุกรายการที่ปรากฏอยู่ในสัญญาก่อสร้างระหว่างกรมและ ผู้รับจ้าง รวมถึงงานรื้อย้ายงานสาธารณูปโภคเพื่อให้ได้รูปแบบและคุณภาพถูกต้องตามที่ระบุในเอกสารสัญญา

4)  ในกรณีที่มีการก่อสร้างของหน่วยงานสาธารณูปโภคร่วมกับการก่อสร้างถนนและสะพานของโครงการ ให้ที่ปรึกษาประสานงานและจัดลำดับการก่อสร้าง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาและอุปสรรคในงานก่อสร้างของกรม

5)  ตรวจสอบและให้ความเห็นชอบแผนงาน วิธีการก่อสร้างของแต่ละงานหลัก แผนและวิธีการบริหารจัดการเรื่องการอำนวยความปลอดภัยระหว่างการก่อสร้างของแต่ละงานหลักองค์กรการทำงาน กำลังคน และเครื่องจักรเครื่องมือที่เสนอโดยผู้รับจ้าง ทั้งนี้จะต้องพิจารณาควบคุมดูแลให้การก่อสร้างมีความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินทั้งของบุคคลภายใน และภายนอกบริเวณพื้นที่ก่อสร้าง โดยให้เป็นไปตามแผนและวิธีการที่ผู้รับจ้างเสนอและได้รับการอนุมัติแล้ว ทั้งนี้ หากแผนและวิธีการก่อสร้างและการอำนวยความปลอดภัยของผู้รับจ้างยังไม่เป็นที่น่าพอใจ เป็นหน้าที่ของที่ปรึกษาที่จะไม่อนุญาตให้ผู้รับจ้างทำการก่อสร้างงานหลักนั้น ๆ และถือเป็นความรับผิดชอบของที่ปรึกษาหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นในพื้นที่ก่อสร้าง

6)  วางแผนการจัดการจราจรระหว่างการก่อสร้าง ให้ผู้รับจ้างถือปฏิบัติพร้อมควบคุมผู้รับจ้างให้ปฏิบัติตามแผนงานที่วางไว้ โดยให้มีผลกระทบกระเทือนต่อการจราจร สิ่งแวดล้อม และประชาชนให้น้อยที่สุด ทั้งนี้ แผนงานดังกล่าวจะต้องสอดคล้องกับนโยบายของกรมด้วย หากเกิดอุบัติเหตุขึ้นในสายทางเนื่องจากความบกพร่องของการจัดการจราจร ถือเป็นความรับผิดชอบในการควบคุมการก่อสร้างของที่ปรึกษา

7)  รายงานข้อปัญหาร้องเรียนต่าง ๆ ที่อาจมีขึ้นเนื่องจากการก่อสร้างให้เจ้าหน้าที่ของกรมได้รับทราบ พร้อมข้อเสนอแนะ และ/หรือ ผลในการแก้ไขปัญหาจนเป็นที่พึงพอใจของผู้ร้องเรียน

8)  ตรวจสอบข้อขัดแย้งระหว่างแบบก่อสร้าง คุณลักษณะเฉพาะและข้อกำหนดรายละเอียดการก่อสร้าง และเอกสารประกอบอื่น ๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาโดยรายงานให้กรมทราบภายในระยะเวลา 60 วัน    นับแต่วันที่กรมแจ้งให้เริ่มปฏิบัติงาน และเสนอแนะวิธีการแก้ไขข้อขัดแข้งระหว่างแบบก่อสร้างโดยเร็วเพื่อไม่ให้มีผลกระทบกับงานก่อสร้าง

9)  ตรวจสอบความถูกต้องของแนวทาง และค่าระดับของงานก่อสร้างให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดไว้

10)  ตรวจสอบใบแจ้งปริมาณงานและราคา (ประเมินราคาแล้ว) เปรียบเทียบกับรูปแบบและพื้นที่        การก่อสร้าง โดยให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับแต่วันที่กรมได้แจ้งให้เริ่มปฏิบัติงาน

11)  ให้วิศวกรหลักทุกตำแหน่งของที่ปรึกษา ยกเว้นผู้จัดการโครงการและวิศวกรประจำโครงการ ตรวจสอบ ทบทวนแบบก่อสร้างและข้อกำหนดต่างๆ ที่ระบุในสัญญาในส่วนที่ตนเองเกี่ยวข้อง โดยแจ้งกรมถึงผลการตรวจสอบ พร้อมเสนอแนะสิ่งที่ต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมไม่ว่าจะเป็น วัสดุ หรือรายการซึ่งแตกต่างจากข้อตกลงเดิม เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ของโครงการและสามารถใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่กรมได้แจ้งให้เริ่มปฏิบัติงาน ทั้งนี้ ในงานตรวจสอบและแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมดังกล่าว จะต้องแสดงรายการคำนวณตามหลักวิชาการทางวิศวกรรมและสถาปัตยกรรมให้ถูกต้อง

12)  ตรวจสอบและให้ความเห็นชอบแบบขยายรายละเอียด (Shop Drawings) เอกสาร และวัสดุตัวอย่างที่จะใช้ในการก่อสร้างที่เสนอโดยผู้รับจ้างก่อนเริ่มการก่อสร้างรายการนั้นๆ

13)  ตรวจสอบวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างให้มีมาตรฐานตามที่กำหนดไว้ในแบบ และคุณลักษณะเฉพาะและข้อกำหนดรายละเอียดการก่อสร้าง หากพบวัสดุใดที่ต่ำกว่ามาตรฐานหรือไม่ผ่านการทดสอบ ให้สั่งการให้ผู้รับจ้างนำวัสดุนั้นออกไปให้พ้นบริเวณก่อสร้าง ทั้งนี้ให้เก็บรวบรวมผลทดสอบไว้เพื่อสามารถตรวจสอบได้ทุกเวลา นอกจากนี้ต้องควบคุมการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างที่นำวัสดุดังกล่าวไปประกอบ หรือติดตั้งให้ได้มาตรฐานตามที่กำหนดไว้

14)  ตรวจสอบรูปแบบของงานที่ผู้รับจ้างได้ดำเนินการก่อสร้างจริงเปรียบเทียบกับรูปแบบตามแบบ     สัญญาจ้างตามเนื้องานที่มีอยู่จริงก่อนการตรวจรับงานของผู้รับจ้างแต่ละงวด

15)  ให้คำแนะนำในการแก้ไขงานที่ได้ดำเนินการไปแล้วแต่มีความบกพร่องเสียหาย หรือไม่เรียบร้อยแก่ผู้รับจ้างเพื่อให้ได้ผลงานที่มีคุณภาพที่ดี ถูกต้องตรงตามแบบก่อสร้างคุณลักษณะเฉพาะและข้อกำหนดทางเทคนิค และเอกสารประกอบอื่นๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของสัญญา

16)  ตรวจสอบและรายงานผลงานความก้าวหน้าของการทำงานของผู้รับจ้างเป็นระยะๆ และคำนวณปริมาณงานจริงที่ผู้รับจ้างทำได้ในแต่ละเดือน เพื่อตรวจสอบการเบิกเงินของผู้รับจ้างและเปรียบเทียบกับแผนการ           ใช้จ่ายเงินของกรม

17)  เก็บรวบรวมรายงานการปฏิบัติงานของผู้รับจ้าง โดยระบุรายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติงานและวัสดุ  ที่ใช้ตลอดจนสภาพดินฟ้าอากาศในสถานที่ก่อสร้างของแต่ละวัน รวมถึงผลการปฏิบัติงานหรือการหยุดงานพร้อมสาเหตุที่มีการหยุดงานไว้ในสถานที่ทำงาน พร้อมทั้งสรุปการทำงานในแต่ละสัปดาห์เพื่อกรมจะตรวจสอบได้ทุกเวลา ทั้งนี้

18)  ตรวจสอบและให้คำแนะนำกรมต่อเรื่องผู้รับจ้างเรียกร้องขอขยายระยะเวลาของสัญญาก่อสร้าง     รวมถึงข้อเรียกร้องการเพิ่มราคาค่าก่อสร้างและเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

19)  ทำหน้าที่แทนกรมในการเจรจาต่อรองกับผู้รับจ้างในส่วนที่เกี่ยวกับงาน และราคาซึ่งมิได้ระบุไว้ในสัญญารวมถึงให้เสนอขอความเห็นชอบจากกรมในการดำเนินการที่เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว

20)  วางแผน จัดทำรายละเอียด และทำการประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อให้บุคคลทั่วไปได้รับทราบข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับโครงการอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการแจ้งผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการให้ได้รับข้อมูลล่วงหน้า เพื่อจะได้เตรียมรับผลกระทบนั้นๆ ด้วยความเข้าใจ ทั้งนี้จะต้องผ่านความเห็นชอบจากกรมก่อนการประชาสัมพันธ์

21)  ทำการสำรวจปริมาณการจราจรก่อนและหลังการก่อสร้างบริเวณโดยรอบของโครงการพร้อมนำข้อมูลสำรวจปริมาณการจราจรดังกล่าวนำไปทำการวิเคราะห์ความคุ้มทุนและประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการต่อไป

22)  จัดทำการมีส่วนร่วมภาคประชาชน ตามรูปแบบและวิธีการที่กรมกำหนดและทำการสำรวจและประเมินความถึงพอใจของผู้ใช้เส้นทางและประชาชนที่อยู่อาศัยอยู่บริเวณริมเขตทางเกี่ยวกับการบริหารจัดการของโครงการ การแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการก่อสร้าง การให้บริการของเจ้าหน้าที่ คุณภาพในการใช้งานของโครงการก่อนและหลังมีโครงการ และอื่นๆ ที่ที่ปรึกษาเห็นว่าควรมีการประเมิน

23)  เมื่องานก่อสร้างตามโครงการแล้วเสร็จทั้งหมดหรือบางส่วน ที่ปรึกษาจะต้องทำการตรวจสอบและรับรองวันที่งานก่อสร้างแล้วเสร็จต่อกรม

24)  เมื่องานก่อสร้างแล้วเสร็จให้ที่ปรึกษาทำการสรุปรวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดระหว่างการก่อสร้าง พร้อมแนวทางและวิธีการแก้ไขจัดเป็นหมวดหมู่ และจัดทำเป็นรายงานส่วนหนึ่งของรายงานขั้นสุดท้ายให้กรมได้รับทราบต่อไป

25)  เมื่องานก่อสร้างแล้วเสร็จให้ที่ปรึกษาจัดทำรายการและวิธีการตรวจสอบความเสียหายของสิ่งก่อสร้าง โดยแสดงรายละเอียดให้ครบทุกรายการที่มีการก่อสร้างในสัญญา เพื่อใช้ในการตรวจสภาพความเสียหายระหว่างการรับประกันผลงานของผู้รับจ้างก่อสร้าง

26)  ในระหว่างระยะเวลาการรับประกันผลงานของผู้รับจ้างก่อสร้าง ที่ปรึกษาจะต้องตรวจสอบข้อบกพร่องของสิ่งก่อสร้างต่างๆ ตามสัญญาก่อสร้างให้ครบทุกรายการตามที่ระบุไว้ในข้อ 25 และจัดทำรายงานการตรวจสอบเสนอกรมทุกระยะ 2 เดือน โดยในรายงานดังกล่าวให้ระบุถึงรายการที่พบว่ามีความชำรุดเสียหาย ภาพถ่ายประกอบ พร้อมการวิเคราะห์ถึงสาเหตุของความเสียหาย และเสนอวิธีการแก้ไข รวมถึงวิธีการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายในลักษณะเช่นเดิมอีก ทั้งนี้ ที่ปรึกษาจะต้องให้คำแนะนำแก่กรมเกี่ยวกับเรื่องหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้รับจ้างก่อสร้างในการซ่อมแซมหรือวิธีการแก้ไขข้อชำรุดบกพร่องดังกล่าว รวมถึงที่ปรึกษาจะต้องลงไปควบคุมดูและการซ่อมแซมหรือการแก้ไขข้อชำรุดบกพร่องของผู้รับจ้าง และรายงานผลการซ่อมแซมที่กรมทราบต่อไป และถ้ากรมเห็นสมควรที่จะขอให้ที่ปรึกษาไปตรวจสอบข้อบกพร่องเพิ่มเติมที่ปรึกษาจะต้องดำเนินการตามคำข้อนั้นโดยไม่ชักช้าและไม่คิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

27)  ไม่ว่าจะมีการตรวจพบข้อชำรุดบกพร่องตามที่กล่าวในข้อ 26 หรือไม่ก็ตาม เมื่อใกล้จะสิ้นระยะเวลาการรับประกันผลงานของผู้รับจ้างก่อสร้าง ที่ปรึกษาจะต้องตรวจสอบงานก่อสร้างดังกล่าวให้  ครบทุกรายการที่ระบุไว้ใน ข้อ 25 ถ้าเห็นว่างานก่อสร้างไม่มีสิ่งชำรุดเสียหาย ที่ปรึกษาจะต้องจัดทำใบรายงานการตรวจสอบสภาพก่อนการคืนค้ำประกันสำหรับผู้รับจ้างก่อสร้างให้กรมพิจารณา แต่ถ้าที่ปรึกษาพบว่ามีงานที่ชำรุดบกพร่องอยู่ ที่ปรึกษาจะต้องให้คำแนะนำและช่วยเหลือกรมดำเนินการในส่วนที่เหลือนั้นจนงานแล้วเสร็จสมบูรณ์ หลังจากนั้นที่ปรึกษาจึงออกรายงานการตรวจสอบสภาพก่อนการคืนค้ำประกันดังกล่าว

28)  ระยะเวลาการรับผิดชอบของที่ปรึกษาตามสัญญานี้มีอยู่ตลอดไป จนถึงวันที่กรมได้รับใบรายงานการตรวจสอบสภาพก่อนการคืนค้ำประกันตามข้อ 27 และได้รับความเห็นชอบเป็นลาลักษณ์อักษรจากกรมแล้ว

29)  นอกจากที่ปรึกษาจะต้องดำเนินการตามที่รุบุไว้ในรายการข้อกำหนดและขอบข่ายของงานนี้แล้ว        ที่ปรึกษาสามารถเสนอการดำเนินการอื่นใดเพิ่มเติมที่เห็นว่าเป็นหน้าที่ของที่ปรึกษาเพื่อให้งานก่อสร้างแล้วเสร็จเรียบร้อยมั่นคง แข็งแรง สวยงาม และถูกต้องตามหลักการทางวิศวกรรม

 

1.4.2    งานจัดทำสื่อในการนำเสนอข้อมูลโครงการ

1)  จัดทำการนำเสนอ (Presentation) แสดงภาพที่แล้วเสร็จของโครงการ

2)  จัดทำการนำเสนอ (Presentation)ภายใต้โปรแกรม Microsoft PowerPoint แสดงผลงานที่ผู้รับจ้าง        จะขอส่งงานให้คณะกรรมการตรวจการจ้างได้พิจารณาตรวจรับในทุกๆงวด

3)  จัดทำการนำเสนอภาพสรุปของโครงการสำหรับผู้บริหาร (Executive Project SummaryPresentation) ภายใต้โปรแกรม Microsoft PowerPoint และ รายละเอียดข้อมูลโครงการ

4)  จัดทำภาพถ่ายความก้าวหน้าของโครงการเป็นประจำทุกเดือนด้วยกล้อง Digital ที่มีความละเอียดของภาพไม่น้อยกว่า 5.0 ล้านพิกเซล โดยเริ่มบันทึกภาพก่อนที่ผู้รับจ้างจะเริ่มเข้าทำการก่อสร้าง จนกระทั่งงานก่อสร้างแล้วเสร็จในตำแหน่งเดิมทุกระยะ 100 ม. และบันทึกในแผ่นเสื่อดิจิตอล DVD

5)  จัดทำและเก็บเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารโครงการทุกชนิด เช่น รายงานประจำวัน     รายงานการประชุม ผลการตรวจสอบ ฯลฯ ตั้งแต่เริ่มต้นโครงการจนแล้วเสร็จ พร้อมบันทึกลงใน Portable HardDisk

6)  จัดทำ Website ของโครงการ และทำการปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน (update) เป็นประจำทุกเดือน โดยเนื้อหาของ Website อย่างน้อยต้องประกอบด้วย เหตุผลความจำเป็นของโครงการ แผนที่ที่ตั้งโครงการ รายละเอียดโครงการ ภาพถ่ายและผลงานความก้าวหน้าของโครงการทุกๆเดือน กิจกรรมพิเศษ            ต่างๆ เช่น การจัดการจราจร ในแต่ละช่วงของการก่อสร้าง กระดานความคิดเห็น หรือข้อร้องเรียนจาก            ภาคประชาชน เป็นต้น โดยขนาดเนื้อที่ของ Website จะต้องสามารถเพิ่มให้เพียงพอในการรอบรับข้อมูลต่างๆ ของโครงการอย่างไม่จำกัด ขึ้นอยู่กับขนาดของข้อมูลที่ทางโครงการต้องการให้แสดงไว้ใน Website

 7) จัดทำคู่มือการตรวจสอบและบำรุงรักษาของโครงการเมื่องานก่อสร้างแล้วเสร็จ ตามที่ระบุไว้ในข้อ 25 ซึ่งคู่มือดังกล่าวควรประกอบด้วยรายละเอียดรายการสิ่งก่อสร้างที่ต้องทำการตรวจสอบลักษณะการชำรุด      เสียหาย รูปตัวอย่าง สาเหตุและวิธีการแก้ไข เป็นต้น

1.5      ระยะเวลาดำเนินงาน

ที่ปรึกษาจะต้องเริ่มปฏิบัติงานตามข้อ 4 ทันที นับตั้งแต่วันที่กรมระบุในหนังสือให้เริ่มปฏิบัติงาน (Notice         to Proceed) ระยะเวลาดำเนินการเป็นดังนี้

1)     การควบคุมงานก่อสร้าง

กรมกำหนดระยะเวลาก่อสร้างไว้ จำนวน 720 วัน ในกรณีที่ระยะเวลาที่ใช้ในการก่อสร้างจริงเกินกว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา ที่ปรึกษาจะต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนต่อไปจนกว่างานจะแล้วเสร็จ และสัญญานี้ก็จะขยายออกไปเท่ากับระยะเวลาที่เกินนั้น โดยค่าใช้จ่ายในช่วงระยะเวลาส่วนที่เกินกว่าที่กำหนดกรมจะพิจารณาเป็นแต่ละกรณีที่ตามข้อที่ 9

 

2)     บำรุงรักษา มีระยะเวลา 2 ปี หลังจากระยะเวลาก่อสร้างแล้วเสร็จตามสัญญา

 

 

 

1.6      ระยะเวลาการส่งมอบผลการดำเนินงาน

ในระหว่างการดำเนินการที่ปรึกษาต้องส่งรายงาน เอกสารต่างๆ รวมถึงงานจัดทำ Website ให้กรม ดังนี้

1.6.1    รายงานแผนการปฏิบัติงาน (Inception Report)

ที่ปรึกษาต้องจัดทำแผนการดำเนินงาน กำหนดเวลาทำงานตามโครงการเสนอต่อกรม จำนวน 7 ชุด ภายในเวลา 1 เดือน นับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งให้เริ่มปฏิบัติงาน

1.6.2     รายงานความก้าวหน้าประจำเดือน (Monthly Progress Report)

            หลังจากเริ่มปฏิบัติงานได้ครบเดือนและต่อไปทุกๆเดือน ให้ที่ปรึกษารายงานวิธีการและนำเสนอเอกสารต่างๆ ที่ต้องใช้ในการควบคุมงานตามรายการที่ได้ปฏิบัติงานในเดือนนั้นๆ รวมถึงให้เสนอแนะสิ่งที่ต้องปรับปรุงในข้อกำหนดทางเทคนิค แบบก่อสร้าง และ/หรือเอกสารต่างๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาที่เกี่ยวข้องพร้อมทั้งกำหนดแผนงานของที่ปรึกษาที่จะปฏิบัติในเดือนต่อไป และรายงานผลงานของผู้รับจ้างที่ปฏิบัติไปแล้วเป็นจำนวนร้อยละ พร้อมทั้งรายละเอียดตาม 1.4.1 ข้อ17 รวมถึงปัญหาอุปสรรคต่างๆ และแนวทางในการแก้ไข รวบรวมเป็นรายงานจัดส่งกรมเป็นจำนวน 7 ชุด ภายในเวลา 5 วัน หลังจากการปฏิบัติงานของเดือนที่จัดทำรายงานนั้น

1.6.3    Website ของโครงการที่มีเนื้อหาเบื้องต้นเพียงพอต่อการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ภายในเวลา 60 วันและมีระบบ Data Base เพื่อรายงานผลข้อมูลการบริหารและควบคุมการก่อสร้างของโครงการ พร้อมระบบการสืบค้นข้อมูลภายใน 90 วัน ตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งให้เริ่มปฏิบัติงานได้ และการปรับปรุงข้อมูลของโครงการให้เป็นปัจจุบัน (update) ภายในวันที่ 5 ของทุกๆเดือน

1.6.4    รายงานขั้นสุดท้าย (Final Report)

บรรยายผลการปฏิบัติงานของบุคลากรหลักทุกตำแหน่งตามหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ปัญหาอุปสรรค พร้อมแนวทางและวิธีการแก้ไข ตั้งแต่เริ่มต้นจนการก่อสร้างแล้วเสร็จ พร้อมสรุปปริมาณงาน ค่าก่อสร้าง ค่าควบคุมงาน และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ถือเป็นงบลงทุนของโครงการทั้งหมด จัดส่งกรมเป็นจำนวน 7 ชุด ภายในเวลา 30 วัน ภายหลังจากงานก่อสร้างแล้วเสร็จ

1.6.5     รายงานผลการประเมินความพึงพอใจของโครงการ จัดส่งกรมเป็น จำนวน 7 ชุด ภายในเวลา 90 วัน ภายหลังจากงานก่อสร้างแล้วเสร็จ

1.6.6     รายงานการวิเคราะห์ความคุ้มทุนและประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ จัดส่งกรมเป็น จำนวน 7 ชุด ภายในเวลา 90 วัน ภายหลังจากงานก่อสร้างแล้วเสร็จ

1.6.7     แบบก่อสร้างจริง (As-built Drawings) จัดส่งให้กรมภายในเวลา 60 วัน ภายหลังจากงานก่อสร้างแล้วเสร็จ โดยส่งแบบต้นฉบับพิมพ์ขาว ขนาด A1 และ A3จำนวนอย่างละ 3 ชุด

1.6.8    สื่อดิจิตอล ตามข้อ 1.4.2 ข้อ1 จำนวน 2 ชุด จัดส่งให้กรมในระยะเวลาไม่เกิน กึ่งหนึ่งของสัญญา

1.6.9     สื่อดิจิตอล DVD และ Presentation set ตามข้อ 1.4.2 ข้อ1, 1.4.2 ข้อ2, 1.4.2 ข้อ3 และข้อ 1.4.2 ข้อ4 จัดส่งให้กรมภายในเวลา 60 วัน ภายหลังจากงานก่อสร้างแล้วเสร็จ จำนวนอย่างละ 2 ชุด

1.6.10   Portable Hard Disk ตามข้อ 1.4.2 ข้อ5 ที่บรรจุข้อมูลรายงาน และบันทึกต่าง ๆ ที่ใช้ในการควบคุมงานในรูป File Acrobat เช่น รายงานผลการปฏิบัติงานประจำวัน รายงานผลการทดสอบวัสดุ เอกสารการส่งงาน หนังสือเร่งรัดผู้รับจ้าง หนังสือสั่งการให้ผู้รับจ้างแก้ไขงาน เป็นต้น โดยจัดส่งให้กรมภายใน 60 วัน ภายหลังจากงานก่อสร้างแล้วเสร็จ จำนวน 2 ชุด

1.6.11   คู่มือการตรวจสอบบำรุงรักษาของโครงการ จำนวน 2 ชุด ภายในเวลา 60 วัน ภายหลังจากงานก่อสร้างแล้วเสร็จ

1.6.12   รายงานการตรวจสอบโครงการช่วงระยะเวลารับประกันทุก 2 เดือน ภายในระยะเวลา 2 ปี   จำนวนครั้งละ 2 ชุด ทั้งนี้ที่ปรึกษาต้องส่งร่างรายงาน Final Report ที่ระยะ 2 เดือนสุดท้ายก่อนงานก่อสร้างแล้วเสร็จ มิเช่นนั้นจะไม่พิจารณาตรวจรับงานของที่ปรึกษาในงวดสุดท้าย ทั้งนี้ ที่ปรึกษาต้องส่งมอบคู่มือเอกสารรายงานต่าง ๆ ตามข้อ 1.6 ในรูปแบบของสื่อดิจิตอล DVD ที่มาอายุการใช้งานไม่น้อยกว่า 5 ปี             ให้กับกรมด้วย