บทที่ 2 ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการ

2.1      ความเข้าใจในลักษณะของโครงการ

ด้วยกรมทางหลวงชนบท ได้รับการร้องเรียนจากผู้ใช้เส้นทางถนนสาย นบ.1009 แยก ทล.9-บ.หนองไผ่ขาด (ตอนที่ 3) อ.บางใหญ่, บางบัวทอง จ.นนทบุรี ระยะทางทั้งสิ้น 3.638 กิโลเมตร เนื่องจากในปัจจุบัน อ.บางใหญ่ และ อ.บางบัวทอง มีการขยายตัวของชุมชนอย่างรวดเร็ว มีหมู่บ้านจัดสรรเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้การจราจรที่ออกสู่ ถนนสาย ทล.9 ซึ่งเป็นสายหลักติดขัดอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาเร่งด่วน ทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นบ่อยครั้ง สร้างความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน เนื่องจากถนนเดิมเป็นถนนลาดยาง Ac. กว้าง 6.00 เมตร ไม่มีไหล่ทาง อยู่บนพื้นที่ดินอ่อนและติดคันคลองตลอดสายทาง ซึ่งมีสภาพชำรุดเสียหายเป็นอย่างมาก เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรภายในพื้นที่ชุมชนชานเมือง เพื่อความสะดวกปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนผู้ใช้รถ ใช้ถนน และแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้นทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

โดยโครงการก่อสร้างถนนสาย นบ.1009 แยก ทล.9-บ.หนองไผ่ขาด (ตอนที่ 3) อ.บางใหญ่, บางบัวทอง จ.นนทบุรี เป็นโครงการปรับปรุงขยายผิวจราจรเพื่อเพิ่มช่องจราจร อีกทั้งยังมีการก่อสร้างกำแพงกันดินด้านข้างบริเวณฝั่งคลอง พร้อมทางเท้าและราวกันตก โดยก่อสร้างตามแนวถนนเดิม โดยจุดเริ่มต้นโครงการ มีแนวทางอยู่บนถนนสาย นบ.1009 ช่วงกิโลเมตรที่ 9+235.000  ไปสิ้นสุดที่ กิโลเมตรที่ 12+873 ความยาวพื้นที่ก่อสร้างของโครงการรวมทั้งสิ้น 3.638 กิโลเมตร

2.1.1    ลักษณะพื้นที่โครงการ

            โครงการก่อสร้างถนนสาย ถนนสาย นบ.1009 แยก ทล.9-บ.หนองไผ่ขาด (ตอนที่ 3) อ.บางใหญ่, บางบัวทอง จ.นนทบุรี เป็นโครงการปรับปรุงขยายผิวจราจรเพื่อเพิ่มช่องจราจร อีกทั้งยังมีการก่อสร้างกำแพงกันดินด้านข้างบริเวณฝั่งคลอง พร้อมทางเท้าและราวกันตก ผิวจราจรแอสฟัลติกคอนกรีต ขนาด 2 ช่องจราจร ความกว้างช่องจราจรละ 3.00 – 3.50 เมตร ไหล่ทางกว้างข้างละ 1.50 – 2.50 เมตร แนวถนนโครงการมีแนวทางไปตามทิศตะวันตก สภาพพื้นที่โครงการโดยทั่วไปตั้งอยู่บนพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำ ซึ่งเป็นพื้นที่ดินเหนียวอ่อน อีกทั้งถนนโครงการตั้งอยู่ขนานกับคลองขุดใหม่ตลอดแนวเส้นทาง ดังนั้นรูปแบบในการก่อสร้างกำหนดเทคนิควิธีการแก้ไขปัญหาโดยการใช้กำแพงกันดิน ซึ่งใช้เสาเข็มร่วมกับแผงกั้นคอนกรีตเสริมเหล็ก ในการปรับปรุงโครงสร้างและเสถียรภาพคันทาง ซึ่งยังช่วยป้องกันไม่ให้ดินคันทางเกิดการทรุดตัวเนื่องจากการลดระดับน้ำอย่างรวดเร็ว (rapid draw down)

            การก่อสร้างโครงการจะทำการก่อสร้าง แบ่งเป็นช่วงต่างๆ โดยมีรายละเอียดคือ ช่วง กม. 9+235.000 - กม.9+492.220 จะทำการก่อสร้างถนนแอสฟัสติกคอนกรีต มีผิวจราจรกว้าง 7.00 เมตร ไหลทางกว้าง 2.50 เป็นระยะทางรวม 257.22 เมตร, ในช่วง กม.9+492.220 - กม.9+539.220 จะทำการก่อสร้าง Approach Slab และ ขยายความกว้างสะพาน โดยการก่อสร้างขยายความกว้างสะพานจะก่อสร้างพื้นสะพานใหม่ ขนาด 27.00 (3x 9.00) เมตร ปูด้วยผิวแอสฟัสติกคอนกรีต หนา 10 เซนติเมตร ซึ่งก่อนทำการปูผิวจะใช้แผ่นใยสังเคระห์เสริมกำลัง ปูบนพื้นสะพาน (Paving Grid) ร่วมกับการปูผิวแอสฟัสติกคอนกรีตอีกด้วย, ในช่วง กม. 9+539.220 - กม.10+125.000 จะทำการก่อสร้างถนนแอสฟัสติกคอนกรีต มีผิวจราจรกว้าง 7.00 เมตร ไหลทางกว้าง 2.50 เป็นระยะทางรวม 585.78 เมตร, ช่วง กม. 10+125.000 -  กม.10+175.000 จะเป็นช่วงปรับลดความกว้างผิวจราจร จาก 7.00 เป็น 6.00 เมตร ไหล่ทางกว้าง 2.50 เป็น 1.50 เมตร และในช่วง กม. 10+175.000 -  กม.12+873.000 จะทำการก่อสร้างถนนแอสฟัสติกคอนกรีต มีผิวจราจรกว้าง 6.00 เมตร ไหลทางกว้าง 1.50 เป็นระยะทางรวม 2,696 เมตร

2.1.2    รายละเอียดตามแนวสายทาง

          ถนนสาย นบ.1009 แยก ทล.9-บ.หนองไผ่ขาด (ตอนที่ 3) อ.บางใหญ่, บางบัวทอง จ.นนทบุรี เป็นผิวจราจรลาดยางแอสฟัลติกคอนกรีต ขนาด 2 ช่องจราจร ความกว้างผิวจราจรช่องละ 3.00 – 3.50 เมตร ไหล่ทางกว้างข้างละ 1.50 – 2.50 เมตร

-           ช่วง กม.9+235 เป็นที่ตั้งของหมู่บ้าน และเป็นจุดเชื่อมต่อจากโครงการก่อสร้างถนนเดิมถนนสาย นบ.1009 แยก ทล.9-บ.หนองไผ่ขาด ตอนที่ 1และตอนที่ 2 พื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบ มีคลองระบายน้ำด้านขวาทาง มีคลองชื่อ คลองขุดใหม่ ถนนทางเข้าโครงการมีขนาด 2 ช่องจราจร ความกว้าง 3.50 เมตร ไหล่ทางกว้างข้างละ 2.50 เมตร ด้านขวาทางมีแนวกำแพงกันดิน คสล. ทางเท้า และราวกันตก ซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกับรูปแบบถนนของโครงการ สภาพเดิมถนนโครงการ มีขนาด 2 ช่องจราจร ความกว้าง 3.00 เมตร ไหล่ทางกว้าง 1.50 เมตร ผิวทางแอสฟัลติกคอนกรีต ผิวจราจรบางช่วงมีสภาพชำรุดเสียหาย เกิดในลักษณะผิวทางเสียรูป ทรุดตัว

-           กม.9+300 เป็นที่ตั้งของสะพานไม้คอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นทางสัญจร เข้า-ออก บ้านของประชาชน

-           กม.9+500 เป็นที่ตั้งของสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก ยาว 27.00 เมตร ( 3x9.00 เมตร ) โดยบริเวณสะพานจะมีสะพานไม้ข้ามคลองมายังถนนของโครงการ อีกทั้งยังมีประตูกั้นน้ำอยู่บริเวณสะพานทางขวาทาง ทั้งจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดสะพาน โดยเป็นประตูน้ำแบบ Stop Log ทำหน้าที่กั้นน้ำบริเวณปากคลองขุดใหม่ กับคลองบางอีลือ

            -           กม.9+600 สะพานคอนกรีตข้ามคลอง บริเวณโรงเรียนบ้านดอนตะลุมพุก และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ        ตําบลดอนตะลุมพุก

-           กม 9+650 - กม.9+550 เป็นที่ตั้งของสามแยกด้านขวาทางตามแนวสายทางถนนโครงการ จุดตัดกับทางหลวงชนบท นบ.5027 อีกทั้งยังเป็นที่ตั้งของสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กข้ามคลองต่อเชื่อมถนน และในพื้นที่บริเวณนี้มีสิ่งปลูกสร้าง ร้านค้า ที่ล่วงล้ำคลอง และอยู่ในเขตทางของโครงการซึ่งต้องทำการย้ายและรื้อถอน

-           กม.10+100 เป็นที่ตั้งของสามแยกด้านซ้ายทางตามแนวสายทางโครงการ เป็นจุดตัดทางหลวงชนบท นบ.5014 ซึ่งหลังจากบริเวณแยกนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงความกว้างถนนคือ บริเวณนี้ สภาพเดิมถนนโครงการ มีขนาด 2 ช่องจราจร ความกว้าง 3.00 เมตร ไม่มีไหล่ทาง ผิวทางแอสฟัลติกคอนกรีต ผิวจราจรบางช่วงมีสภาพชำรุดเสียหาย เกิดในลักษณะผิวทางเสียรูป ทรุดตัว

-           กม.10+550 สะพานคอนกรีตเสริมเหล็กเชื่อมต่อถนนโครงการ เข้าหมู่บ้านเจริญทรัพย์ ซึ่งบริเวณนี้ต้องทำการรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค เนื่องจากอยู่ในแนวเขตทางโครงการ

-           กม.10+600 - จุดสิ้นสุดโครงการ พื้นที่ส่วนใหญ่ทั้งสองข้างทางจะเป็น พื้นที่ทำการเกษตร และมี ระดับพื้นดินต่ำกว่าระดับถนน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นนาข้าว และมีบางพื้นที่ เป็นพืชสวน เช่น ทำสวนมะม่วง สวนกล้วย เป็นต้น สภาพเดิมถนนโครงการ มีขนาด 2 ช่องจราจร ความกว้าง 3.00 เมตร ไม่มีไหล่ทาง ผิวทางแอสฟัลติกคอนกรีต ผิวจราจรบางช่วงมีสภาพชำรุดเสียหาย เกิดในลักษณะผิวทางเสียรูป ทรุดตัว

2.1.3    สภาพทางธรณีวิทยา

            จังหวัดนนทบุรี ส่วนใหญ่เป็นลักษณะดินอ่อน เป็นดินตะกอนแม่น้ำ ชั้นดินอ่อน (Very Soft to Soft Clay) อยู่ที่ความลึกประมาณ +1.10 ม. ถึง -18.00 ม. (รทก.) และจากการศึกษาการใช้สภาพที่ดิน ตามคุณสมบัติของที่ดินแล้วพบว่า ทรัพยากรดินของจังหวัดนนทบุรี เป็นดินที่ราบลุ่ม ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะกับการเกษตรกรรม โดยเฉพาะการปลูกข้าวและทำสวนผลไม้ ซึ่งสามารถจำแนกลักษณะดินออกได้ ๓ กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้

            (1) กลุ่มดินนา เป็นพื้นที่ลุ่มมีน้ำท่วมขังบนผิวดิน ส่วนมากมีลักษณะดินเป็นดินเหนียวจึงมีการ ระบายน้ำเหลว ดินกลุ่มนี้มีประมาณ ร้อยละ 58 ของพื้นที่จังหวัด

             (2) กลุ่มดินไร่ มีลักษณะโครงสร้างเป็นดินเหนียวเช่นเดียวกับกลุ่มดินนา แต่มีความลาดชันของ พื้นที่มากกว่า ดินกลุ่มนี้มีประมาณ ร้อยละ 33 ของพื้นที่จังหวัด

            (3) กลุ่มดินที่มีสภาพเป็นกรด มีลักษณะเป็นดินเหนียวเช่นกัน การระบายน้ำเหลวและน้ำผิวดินระบายได้ช้า ความอุดมสมบูรณ์ของแร่ธาตุต่ำ ดินกลุ่มนี้มีประมาณ ร้อยละ 13 ของพื้นที่จังหวัด

 

2.1.4    สภาพทางอุทกวิทยา และการระบายน้ำ

          สภาพอุกทกวิทยาของพื้นที่โครงการทั่วไปนั้น อยู่ในพื้นที่ อ.บางใหญ่, บางบัวทอง จ.นนทบุรี ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปี 1,228.1 มม.  พื้นที่โครงการส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม สะพานตามแนวสายทางอยู่จำนวน 1 สะพาน คือสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กข้ามคลองบางอีลือ และมีสะพานข้ามคลองขุดใหม่เชื่อมต่อกับถนนโครงการจำนวน 10 สะพาน แบ่งเป็น สะพานไม้ 1 สะพาน สะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก 9 สะพาน โดยจะมีคลองขุดใหม่ อยู่ด้านขวาทางตลอดตามแนวสายทางถนนของโครงการ ซึ่งโครงข่ายการระบายน้ำ จะแสดงได้ดังรูปที่ 2.1-3

 

 

2.1.5 ลักษณะโครงการ

                    ด้วยกรมทางหลวงชนบท ได้รับการร้องเรียนจากผู้ใช้เส้นทางทางสาย นบ.1009 แยก ทล.9-บ.หนองไผ่ขาด (ตอนที่ 3) อ.บางใหญ่, บางบัวทอง จ.นนทบุรี ระยะทางทั้งสิ้น 3.638 กิโลเมตร เนื่องจากในปัจจุบัน อ.บางใหญ่ และ อ.บางบัวทอง มีการขยายตัวของชุมชนอย่างรวดเร็ว มีหมู่บ้านจัดสรรเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้การจราจรที่ออกสู่ ถนนสาย ทล.9 ซึ่งเป็นสายหลักติดขัดอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาเร่งด่วน ทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นบ่อยครั้ง สร้างความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน เนื่องจากถนนเดิมเป็นถนนลาดยาง Ac. กว้าง 6.00 เมตร ไม่มีไหล่ทาง อยู่บนพื้นที่ดินอ่อนและติดคันคลองตลอดสายทาง ซึ่งมีสภาพชำรุดเสียหายเป็นอย่างมาก เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรภายในพื้นที่ชุมชนชานเมือง เพื่อความสะดวกปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนผู้ใช้รถ ใช้ถนน และแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้นทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

โดยโครงการก่อสร้างถนนสาย นบ.1009 แยก ทล.9-บ.หนองไผ่ขาด (ตอนที่ 3) อ.บางใหญ่, บางบัวทอง จ.นนทบุรี เป็นโครงการปรับปรุงขยายผิวจราจรเพื่อเพิ่มช่องจราจร อีกทั้งยังมีการก่อสร้างกำแพงกันดินด้านข้างบริเวณฝั่งคลอง พร้อมทางเท้าและราวกันตก โดยก่อสร้างตามแนวถนนเดิม โดยจุดเริ่มต้นโครงการ มีแนวทางอยู่บนถนนสาย นบ.1009 ช่วงกิโลเมตรที่ 9+235.000  ไปสิ้นสุดที่ กิโลเมตรที่ 12+873 ความยาวพื้นที่ก่อสร้างของโครงการรวมทั้งสิ้น 3.638 กิโลเมตร และได้กำหนดระยะเวลาการก่อสร้างไว้ 720 วัน

ตารางที่ 2.1-1 สรุปรายละเอียดลักษณะโครงการ

 

ลักษณะโครงการ

รายละเอียด

ระยะทาง

3.638 กิโลเมตร

ชนิดของผิวพื้นจราจร

แอสฟัลติกคอนกรีต (ลาดยาง)

จำนวนช่องจราจร

2 ช่องจราจร ขนาด 6.00-7.00 เมตร

ไหล่ทางหรือทางเท้า

1.50 - 2.50 เมตร

สาธารณูปโภค

ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง ระบบระบายน้ำ

สะพาน

ขนาด 27.00 (3x 9.00) เมตร ขยายความกว้าง สร้างพื้นสะพานใหม่


2.2      ความเข้าใจในรายการข้อกำหนด

2.2.1    ขอบข่ายของงานและหน้าที่ของที่ปรึกษา

ที่ปรึกษาจะทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมงานหรือวิศวกรของผู้ว่าจ้างตามที่ระบุไว้ในเอกสารประกวดราคาและจะต้องควบคุมการก่อสร้างให้เสร็จเรียบร้อยโดยสมบูรณ์ เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 – 5) และระเบียบอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วยงานดังต่อไปนี้

1)  กำกับดูแลผู้รับจ้างในการสำรวจเขตทางเพื่อกำหนดเขตก่อสร้าง พร้อมทั้งคำแนะนำผู้รับจ้างถึงตำแหน่ง จุดพิกัด และระดับหมุดหลักฐานของโครงการ รวมถึงให้คำแนะนำแก่ผู้รับจ้างทำการจัดทำหมุดหลักฐานชั่วคราวเพิ่มเติม เพื่อง่ายต่อการก่อสร้างและตรวจสอบ

2)  กำกับดูแลผู้รับจ้างในการประสานงานกับผู้แทนของสำนักงานทางหลวงชนบทจังหวัดหรือเจ้าหน้าที่ของกรมทางหลวงชนบทเพื่อปักหมุดเขตที่ดิน (เพิ่มเติม) ตามเขตที่ดินที่กรมได้รับมอบจากผู้ที่อุทิศที่ดิน หรือตามเขตที่ดินที่ได้จากการเวนคืนไว้ และร่วมประสานงานแก้ไขปัญหาอุปสรรคเพื่อให้สามารถส่งมอบพื้นที่ให้แก่ผู้รับจ้างได้

3)  ควบคุมการก่อสร้างตามรายละเอียดของงานทุกรายการที่ปรากฏอยู่ในสัญญาก่อสร้าง ระหว่างกรมและผู้รับจ้าง รวมถึงงานรื้อย้ายสาธารณูปโภคเพื่อให้ได้รูปแบบและคุณภาพถูกต้องตามที่ระบุในเอกสารสัญญา

4)  ในกรณีที่ที่มีการก่อสร้างของหน่วยงานสาธารณูปโภคร่วมกับการก่อสร้างถนนและสะพานของโครงการ ให้ที่ปรึกษาประสานงานและจัดลำดับการก่อสร้าง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาและอุปสรรคในงานก่อสร้างของกรมทางหลวงชนบท

5)  ตรวจสอบและให้ความเห็นชอบแผนงาน วิธีการก่อสร้างของแต่ละงานหลัก แผนและวิธีการบริหารจัดการเรื่องการอำนวยความปลอดภัยระหว่างการก่อสร้างของแต่ละงานหลัก องค์กรการทำงาน กำลังคน และเครื่องจักรเครื่องมือที่เสนอโดยผู้รับจ้าง ทั้งนี้จะต้องพิจารณาควบคุมดูแลให้การก่อสร้างมีความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินทั้งของบุคคลภายใน และภายนอกบริเวณพื้นที่ก่อสร้าง โดยให้เป็นไปตามแผนและวิธีการที่ผู้รับจ้างเสนอและได้รับการอนุมัติแล้ว ทั้งนี้ หากแผนและวิธีการก่อสร้างและการอำนวยความปลอดภัยของผู้รับจ้างยังไม่เป็นที่น่าพอใจ เป็นหน้าที่ของที่ปรึกษาที่จะไม่อนุญาตให้ผู้รับจ้างทำการก่อสร้างงานหลักนั้นๆ และถือเป็นความผิดที่ต้องรับผิดชอบของที่ปรึกษาหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นในพื้นที่ก่อสร้าง

6)  วางแผนการจัดการจราจรระหว่างการก่อสร้าง ให้ผู้รับจ้างถือปฏิบัติพร้อมควบคุมผู้รับจ้างให้ปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ โดยให้มีผลกระทบกระเทือนต่อการจราจรสิ่งแวดล้อม และประชาชนให้น้อยที่สุด ทั้งนี้ แผนงานดังกล่าวจะต้องสอดคล้องกับนโยบายของกรมด้วย หากเกิดอุบัติเหตุขึ้นในสายทางเนื่องจากความบกพร่องของการจัดการจราจร ถือเป็นความรับผิดชอบในการควบคุมการก่อสร้างของที่ปรึกษา

7)  รายงานข้อปัญหาร้องเรียนต่างๆที่อาจมีขึ้นเนื่องจากการก่อสร้างให้เจ้าหน้าที่ของกรมได้รับทราบ พร้อมข้อเสนอแนะ และ/หรือ ดำเนินการในการแก้ไขปัญหาจนผลในการแก้ปัญหาเป็นที่พอใจของผู้ร้องเรียน

8)  ตรวจสอบข้อขัดแย้งระหว่างแบบก่อสร้าง คุณลักษณะเฉพาะและข้อกำหนดรายละเอียดการก่อสร้าง และเอกสารประกอบอื่นๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของสัญญา โดยรายงานให้กรมทราบ ภายใน 60 วัน นับตั้งแต่ที่กรมแจ้งให้เริ่มปฏิบัติงานและเสนอแนะวิธีการแก้ไขข้องขัดแย้งระหว่างแบบก่อสร้างโดยเร็วเพื่อไม่ให้มีผลกระทบกับงานก่อสร้าง

9)  ตรวจสอบความถูกต้องของแนวทาง และค่าระดับของงานก่อสร้างให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดไว้

10)        ตรวจสอบใบแจ้งปริมาณงานและราคา (ประเมินราคาแล้ว) เปรียบเทียบกับรูปแบบและพื้นที่ก่อสร้าง โดยให้แล้วเสร็จ ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่กรมได้แจ้งให้เริ่มปฏิบัติงาน

11) ตรวจสอบ ทบทวนแบบก่อสร้างและข้อกำหนดต่างๆที่ระบุในสัญญาในส่วนที่ตนเองเกี่ยวข้อง โดยแจ้งกรมถึงผลการตรวจสอบ พร้อมเสนอแนะสิ่งที่ต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมไม่ว่าจะเป็นแบบ วัสดุ หรือรายการซึ่งแตกต่างจากข้อตกลงเดิม เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ของโครงการและสามารถใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งนี้ ในงานตรวจสอบและการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม ดังกล่าว จะแสดงรายการคำนวณตามหลักวิชาการ ทางวิศวกรรมและสถาปัตยกรรมให้ถูกต้อง

12)        ตรวจสอบและให้ความเห็นชอบแบบขยายรายละเอียด (Shop Drawing) เอกสาร และวัสดุตัวอย่างที่จะใช้ในการก่อสร้างที่เสนอโดยผู้รับจ้างก่อนเริ่มก่อสร้างรายการนั้นๆ

13) ตรวจสอบวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างให้มีมาตรฐานตามที่กำหนดไว้ในแบบและคุณลักษณะเฉพาะและข้อกำหนดรายละเอียดการก่อสร้าง หากพบวัสดุใดที่ต่ำกว่ามาตรฐานหรือไม่ผ่านการทดสอบ ให้สั่งการให้ผู้รับจ้างนำวัสดุนั้นออกไปให้พ้นบริเวณก่อสร้าง ทั้งนี้ให้เก็บรวบรวมผลการทดสอบไว้เพื่อสามารถตรวจสอบได้ทุกเวลา และจัดทำแบบรายงานตามแบบฟอร์ม ทส.1 – ทส.5 นอกจากนี้ต้องควบคุมการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างที่จะนำวัสดุดังกล่าวไปประกอบ หรือติดตั้งให้ได้มาตรฐานตามที่กำหนดไว้

14) ตรวจสอบรูปแบบของงานที่ผู้รับจ้างได้ดำเนินการก่อสร้างจริงเปรียบเทียบกับรูปแบบตามแบบสัญญาจ้าง ตามแบบฟอร์ม คส.1 – คส.10 และรวมถึงแบบฟอร์มที่ที่ปรึกษาจะจัดทำเพิ่มเติมตามเนื้องานที่มีอยู่จริงก่อนการตรวจรับงานของผู้รับจ้างแต่ละงวด

15)        ให้คำแนะนำในการแก้ไขงานที่ได้ดำเนินการไปแล้วแต่มีความบกพร่องเสียหายหรือไม่เรียบร้อยแก่ผู้รับจ้างเพื่อให้ได้ผลงานที่มีคุณภาพที่ดี ถูกต้องตรงตามแบบก่อสร้างคุณลักษณะเฉพาะและข้อกำหนดทางเทคนิค และเอกสารประกอบอื่นๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของสัญญา

16)        ตรวจสอบและรายงานผลงานความก้าวหน้าของการทำงานของผู้รับจ้างเป็นระยะๆและคำนวณปริมาณงานจริงที่ผู้รับจ้างทำได้ในแต่ละเดือน เพื่อตรวจสอบการเบิกเงินของผู้รับจ้างและเปรียบเทียบกับแผนการใช้จ่ายเงินของกรม

17)        เก็บรวบรวมรายงานการปฏิบัติของผู้รับจ้าง โดยระบุรายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติและวัสดุที่ใช้ตลอดจนสภาพดินฟ้าอากาศในสถานที่ก่อสร้างของแต่ละวัน รวมถึงผลการปฏิบัติงานหรือการหยุดงาน พร้อมสาเหตุที่มีการหยุดงานไว้ในสถานที่ทำงาน พร้อมทั้งสรุปการทำงานในแต่ละสัปดาห์เพื่อกรมจะตรวจสอบได้ทุกเวลา

18)        ตรวจสอบและให้คำแนะนำกรมต่อเรื่องที่ผู้รับจ้างเรียกร้องขอขยายระยะเวลาของสัญญาก่อสร้าง รวมถึงข้อเรียกร้องการเพิ่มราคาค่าก่อสร้างและเรื่องอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

19) ทำหน้าที่แทนกรมในการเจรจาต่อรองกับผู้รับจ้างในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงาน และราคา ซึ่งมิได้ระบุไว้ในสัญญา รวมถึงให้เสนอขอความเห็นชอบจากกรมในการดำเนินการที่เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว

20)        วางแผน จัดทำรายละเอียดและการประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อให้บุคคลทั่วไปได้รับทราบข้อมูลข่าวสารเกี่ยวข้องกับโครงการอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการแจ้งผู้ที่ได้รับกระทบจากโครงการให้ได้รับข้อมูลล่วงหน้า เพื่อจะได้เตรียมรับผลกระทบนั้นๆ ด้วยความเข้าใจ ทั้งนี้จะต้องผ่านความเห็นชอบจากกรมก่อนการประชาสัมพันธ์

21) ทำการสำรวจปริมาณการจราจรก่อนและหลังการก่อสร้างบริเวณโดยรอบของโครงการ พร้อมนำข้อมูลสำรวจปริมาณการจราจรดังกล่าวไปทำการวิเคราะห์ความคุ้มทุนและประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการต่อไป

22)        ทำการสำรวจและประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้เส้นทางและประชาชนที่อยู่อาศัยอยู่บริเวณริมเขตทางเกี่ยวกับการบริหารจัดการของโครงการ การแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการก่อสร้าง การให้บริการของเจ้าหน้าที่ คุณภาพในการใช้งานของโครงการก่อนและหลังมีโครงการ และอื่นๆที่ที่ปรึกษาเห็นว่าควรมีการประเมิน

23) เมื่อวานก่อสร้างตามโครงการแล้วเสร็จทั้งหมดหรือบางส่วน ที่ปรึกษาจะต้องทำการตรวจสอบและรับรองวันที่งานก่อสร้างแล้วเสร็จต่อกรม

24)        เมื่องานก่อสร้างแล้วเสร็จให้ที่ปรึกษาทำการสรุปรวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการก่อสร้าง พร้อมแนวทางและวิธีการแก้ไขจัดเป็นหมวดหมู่ และจัดทำเป็นรายงานส่วนหนึ่งของรายงานขั้นสุดท้ายให้กรมได้รับทราบต่อไป

25) เมื่องานก่อสร้างแล้วเสร็จ ที่ปรึกษาจะจัดทำรายงานและวิธีการตรวจสอบความเสียหายของสิ่งก่อสร้าง โดยแสดงรายละเอียดให้ครบทุกรายการที่มีการก่อสร้างในสัญญา เพื่อใช้ในการตรวจสภาพความเสียหายระหว่างการรับประกันผลงานของผู้รับจ้างก่อสร้าง

26)        ในระหว่างระยะเวลาการรับประกันผลงานของผู้รับจ้างก่อสร้าง ที่ปรึกษาจะต้องตรวจสอบข้อบกพร่องของสิ่งก่อสร้างต่างๆ ตามสัญญาก่อสร้างให้ครบทุกรายการตามที่ระบุไว้ในข้อ 25 และจัดทำรายงานการตรวจสอบเสนอกรมทุกระยะ 2 เดือน โดยในรายงานดังกล่าวให้ระบุถึงรายการที่พบว่ามีความชำรุดเสียหาย ภาพถ่ายประกอบ พร้อมการวิเคราะห์ถึงสาเหตุของความเสียหาย และเสนอวิธีการแก้ไข รวมถึงวิธีการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายในลักษณะเช่นเดิมอีก ทั้งนี้ ที่ปรึกษาจะต้องให้คำแนะนำแก่กรมเกี่ยวกับเรื่องหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้รับจ้างในการซ่อมแซมหรือวิธีการแก้ไขข้อชำรุดบกพร่องดังกล่าว รวมถึงที่ปรึกษาจะต้องลงไปควบคุมดูแลการซ่อมแซม หรือการแก้ไขข้อชำรุดบกพร่องของผู้รับจ้าง และรายงานผลการซ่อมแซมให้กรมทราบต่อไป และถ้ากรมเห็นสมควรที่จะขอให้ที่ปรึกษาไปตรวจสอบข้อบกพร่องเพิ่มเติม ที่ปรึกษาจะต้องดำเนินการตามคำขอนั้นโดยไม่ชักช้าและไม่คิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

27) ไม่ว่าจะมีการตรวจพบข้อชำรุดบกพร่องตามที่กล่าวไว้ในข้อ 26 หรือไม่ก็ตาม เมื่อใกล้จะสิ้นระยะเวลาการรับประกันผลงานของผู้รับจ้างก่อสร้าง ที่ปรึกษาจะต้องตรวจสอบงานก่อสร้างดังกล่าวให้ครบทุกรายการที่ระบุไว้ในข้อ 25 ถ้าเห็นว่างานก่อสร้างไม่มีสิ่งชำรุดเสียหาย ที่ปรึกษาจะต้องจัดทำใบรายงานการตรวจสอบสภาพก่อนการคืนค้ำประกันสำหรับผู้รับจ้างก่อสร้างให้กรมพิจารณา แต่ถ้าที่ปรึกษาพบว่ามีงานที่ชำรุดบกพร่องอยู่ ที่ปรึกษาจะต้องให้คำแนะนำและช่วยเหลือกรมดำเนินการในส่วนที่เหลือนั้นจนงานแล้วเสร็จสมบูรณ์ หลังจากนั้นที่ปรึกษาจึงออกใบรายงานการตรวจสภาพก่อนการคืนค้ำประกันดังกล่าว

28) ระยะเวลาการรับผิดชอบของที่ปรึกษาตามสัญญานี้มีอยู่ตลอดไป จนถึงวันที่กรมได้รับใบรายงานการตรวจสอบสภาพก่อนการคืนค้ำประกันตามข้อ 27 และได้รับความเห็นชอบเป็นลายลักษณ์อักษรจากกรมแล้ว

29)        นอกจากที่ปรึกษาจะต้องดำเนินการตามที่ระบุไว้ในรายการข้อกำหนดและขอบข่ายของงานนี้แล้วที่ปรึกษาสามารถเสนอการดำเนินการอื่นใดเพิ่มเติมที่เห็นว่าเป็นหน้าที่ของที่ปรึกษาเพื่อให้งานก่อสร้างแล้วเสร็จเรียบร้อยมั่นคง แข็งแรง สวยงาม และถูกต้องตามหลักทางวิศวกรรม