บทที่ 4 แผนงานและการส่งรายงาน

4.1      คำนำ

ในการดำเนินงานของที่ปรึกษา เพื่อการบริหารโครงการและควบคุมงานก่อสร้างให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับรายการข้อกำหนและขอบข่ายของงานสำหรับที่ปรึกษา อันก่อให้เกิดผลงานก่อสร้างที่แล้วเสร็จสมบูรณ์นั้น จะต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ร่วมกันจัดทำแผนการดำเนินงานโครงการให้สอดคล้องกับแผนงานที่ผู้รับจ้างเสนอ รวมทั้งมีการจัดองค์กรและบุคลากรดำเนินงานอย่างเหมาะสมควบคู่ไปด้วย

แต่เนื่องจากขณะนี้ยังไม่มีแผนงานของผู้รับจ้างดังกล่าว ดังนั้นในการจัดทำข้อเสนอด้านเทคนิคฉบับนี้ ที่ปรึกษาได้ใช้ความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในการทำงานที่ผ่านมาของที่ปรึกษาประกอบดับความเข้าใจที่มีต่อลักษณะงานและขอบข่ายงานของโครงการมาจัดทำแผนงานขึ้น และใช้แผนงานนี้เป็นแนวทางในการจัดทำแผนการดำเนินงานและการจัดองค์กรบริหารโครงการที่ปรึกษา เพื่อนำเสนอให้กรมพิจารณาในเบื้องต้น

4.2      แผนงานก่อสร้างของผู้รับจ้าง

การกำหนดระยะเวลาการก่อสร้างที่เหมาะสม นอกจากจะทำให้ราคาค่าก่อสร้างในภาพรวมลดลงแล้ว ยังส่งผลถึงคุณภาพของงานที่จะยั่งยืนไปในอนาคตด้วย เนื่องจากพื้นที่โครงการเป็นบริเวณที่มีการจราจรเพื่อการขนส่งสินค้าเกือบตลอด การเร่งรัดการก่อสร้างของโครงการให้มีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้ภาพรวมของโครงการดีขึ้น เพราะประชาชนที่สัญจรผ่านไปมา จะพบเห็นความคืบหน้าของงานก่อสร้างโครงการว่ามีความคืบหน้าเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ การที่จะทำให้การก่อสร้างเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพนั้น การจัดวางแผนงานก่อสร้างที่เหมาะสมและเลือกวิธีการก่อสร้างที่ถูกต้องจะทำให้การก่อสร้างเป็นไปอย่างรวดเร็ว ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบกับผิวจราจรและสภาพจราจรในบริเวณใกล้เคียงมากนัก และใช้เวลาก่อสร้างไม่นานจนเกินไป

นอกเหนือจากการก่อสร้างอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพแล้ว การเลือกวิธีก่อสร้างที่เหมาะสมยังทำให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานและยังคงลดผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมต่อบริเวณใกล้เคียงโครงการลงได้อีกด้วยสำหรับแผนงานก่อสร้างเบื้องต้นของผู้รับจ้าง ที่ปรึกษาได้แสดงไว้ในรูปที่ 4.2-1

การดำเนินงานในโครงการนี้ มีรายละเอียดของงานหลัก ๆ ดังนี้

(1)    งานสำรวจเพื่อการก่อสร้าง งานจัดทำแผนงานและวิธีการก่อสร้าง งานจัดทำแบบขยายรายละเอียดโครงสร้างต่าง ๆ เป็นงานที่ต้องเริ่มดำเนินการก่อนพร้อมๆ ไปกับงานเตรียมพื้นที่ก่อสร้าง ซึ่งจะประกอบด้วย งานรื้อย้ายสิ่งกีดขวางและอุปสรรคต่าง ๆ ในเขตทาง งานวางรั้วกั้นแนวก่อสร้าง การติดป้ายประชาสัมพันธ์ รวมทั้งจัดเตรียมไฟสัญญาณ การขนย้ายเครื่องมือและปรับผิวจราจรบริเวณถนนที่อยู่ใกล้เคียงโครงการซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากการก่อสร้าง

(2)    งานจัดหาสำนักงานสนามและห้องทดลองของโครงการ พร้อมยานพาหนะและอุปกรณ์สำนักงานต่าง ๆ

(3)    งานดินและฐานรากของโครงสร้างสะพาน/ทางยกระดับ รวมทั้งการทดสอบการรับน้ำหนักแบกทานของดิน

(4)    งานก่อสร้างโครงสร้างส่วนล่างและโครงสร้างส่วนบนของสะพาน ซึ่งประกอบด้วยเสาตอม่อ พื้นสะพานคอนกรีตอัดแรงหล่อสำเร็จ ชนิด I-Girder โครงสร้างเชิงลาด ฐานรองโครงสร้างสะพาน รอยต่อเผื่อการขยายของสะพาน ราวกันชนและผิวจราจรบนทางต่างระดับ

(5)    งานระบบไฟฟ้าแสงสว่าง ระบบระบายน้ำ ป้ายเครื่องหมายจราจร และงานส่วนย่อยอื่น ๆ

(6)    งานเก็บงานและทำความสะอาดโครงการ

(7)    งานซ่อมแซม/แก้ไข และบำรุงรักษาสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ในช่วงระยะประกันผลงาน 24 เดือน

 

4.3      แผนการดำเนินงานของที่ปรึกษา

งานควบคุมงานก่อสร้างของโครงสร้างในมุมมองของที่ปรึกษานั้น ที่ปรึกษามีความมั่งมันที่จะให้ผลงานการก่อสร้างแล้วเสร็จอย่างมีคุณภาพ มีความคงทนไปตลอดอายุการใช้งาน นอกจากนี้ ที่ปรึกษายังมีความมุ่งหมายที่จะประสานงานก่อสร้างในกลุ่มต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้บรรลุจุดประสงค์ของทุกฝ่ายและสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี โดยควบคุมการดำเนินงานของผู้รับจ้างให้เป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ สำหรับแผนการดำเนินงานในส่วนของที่ปรึกษาได้แสดงไว้ในรูปที่ 4.3-1 ซึ่งประกอบด้วยงานหลัก 3 กลุ่มงาน ได้แก่ กลุ่มงานที่ 1 งานตรวจพิจารณาแบบขยายรายละเอียดโครงสร้าง และแผนงานก่อสร้าง กลุ่มที่ 2 งานควบคุมการก่อสร้าง และกลุ่มที่ 3 งานตรวจสอบหลังการก่อสร้างแล้วเสร็จตามสัญญา

 

4.3.1    งานตรวจพิจารณาแบบขยายรายละเอียดโครงสร้างและแผนงานก่อสร้าง

          ที่ปรึกษาจะทำการตรวจแบบขยายรายละเอียดโครงสร้าง และแผนงานก่อสร้าง ให้เป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานการก่อสร้างที่ดี หากพิจารณาแล้วเห็นว่าควรมีการแก้ไขจะรีบแจ้งให้ผู้รับจ้างทราบและดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องและครบถ้วนโดยเร็ว

4.3.2    งานควบคุมการก่อสร้างและงานตรวจสอบหลังงานก่อสร้างแล้วเสร็จตามสัญญา

          ที่ปรึกษาจะรับผิดชอบในการจัดการและบริหารโครงการตลอดระยะเวลาดำเนินงานก่อสร้างทั้งกลางวันและกลางคืนสำหรับงานควบคุมการดำเนินงานจะถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย ตามระยะเวลาของลักษณะงาน ได้แก่ งานควบคุมการก่อสร้าง และงานตรวจสอบหลังงานก่อสร้างแล้วเสร็จตามสัญญา

(1)      งานควบคุมการก่อสร้าง

          สำหรับงานควบคุมงานก่อสร้างนั้นจะเกี่ยวกับเนื้องานถาวรของโครงการเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งที่ปรึกษามีแนวทางการควบคุมงานในส่วนนี้ให้เป็นไปในลักษณะเชิงรุกซึ่งจะต้องทำการตรวจสอบงานของผู้รับจ้างอย่างใกล้ชิด งานใดที่ผู้รับจ้างเริ่มงานหรือเตรียมงานโดยไม่ถูกต้อง ที่ปรึกษาจะดำเนินการให้ผู้รับจ้างทำการแก้ไขในทันทีก่อนที่ผู้รับจ้างจะดำเนินการอย่างไม่ถูกต้องไปเป็นปริมาณมาก ซึ่งจะทำการแก้ไขหรือรื้อย้ายได้ยากขึ้น อีกทั้งยังส่งผลโดยตรงต่อระยะเวลาการก่อสร้างด้วย

นอกจากนี้ยังมีงานที่ต้องดำเนินการควบคู่ไปกับงานควบคุมการก่อสร้าง ประกอบด้วยงานรื้อย้ายและก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค งานควบคุมคุณภาพ ตรวจสอบปริมาณงานและความปลอดภัย ซึ่งต้องดำเนินการไปตลอดระยะเวลาการก่อสร้าง ส่วนงานจัดการจราจรระหว่างการก่อสร้างและมาตรการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมก็จัดอยู่ในกลุ่มงานนี้เช่นกันโดยจะดำเนินการตลอดระยะเวลาการก่อสร้าง

(2)      งานตรวจสอบหลังงานก่อสร้างแล้วเสร็จตามสัญญา

          ในระหว่างระยะเวลาการรับประกันผลงาน (Period of Maintenance) ของผู้รับจ้างก่อสร้าง ที่ปรึกษาจะมอบหมายให้วิศวกรโครงการพร้อมด้วยบุคลากรสนับสนุนอีกจำนวนหนึ่ง ทำหน้าที่ตรวจสอบสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ตามสัญญาอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยเดือนละ 1-2 ครั้ง โดยในการตรวจสอบแต่ละครั้งที่ปรึกษาจะดำเนินการดังนี้

(2.1)      สำรวจสภาพของสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เช่น เสาโครงสร้าง ผิวจราจร ทางเท้า ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง ระบบระบายน้ำ เป็นต้น เพื่อตรวจสอบว่ามีร่องรอยชำรุดเสียหายหรือมีข้อบกพร่องหรือไม่อย่างไร

(2.2)      หากพบร่องรอยชำรุดหรือข้อบกพร่องก็จะทำการบันทึกภาพและรายละเอียดและวิเคราะห์หาสาเหตุที่ทำให้เกิดการชำรุดหรือบกพร่องนั้น ๆ

(2.3)      เสนอแนะวิธีการและขั้นตอนในการแก้ไข/ซ่อมแซม โดยหากเป็นเรื่องที่ต้องแก้ไข/ซ่อมแซม อย่างเร่งด่วนหรือมีผลต่อความปลอดภัยของประชาชน ที่ปรึกษาก็จะแจ้งให้กรมทราบทันที พร้อมกันนั้นที่ปรึกษาจะได้ตรวจสอบว่าภาระหน้าที่ในการแก้ไข/ซ่อมแซมดังกล่าวเป็นภาระของผู้รับจ้างตามข้อกำหนดของสัญญาหรือไม่อย่างไร และให้รายละเอียดแก่กรมเกี่ยวกับความรับผิดชอบของผู้รับจ้างในการซ่อมแซมนั้น ๆ

(2.4)      ประมาณการค่าใช้จ่ายและระยะเวลาที่เหมาะสมในการแก้ไข/ซ่อมแซม

(2.5)      ควบคุมดูแลแก้ไข/ซ่อมแซมให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักวิศวกรรมเป็นไปตามข้อกำหนดของสัญญา และสามารถใช้งานได้ตามปกติโดยเร็วที่สุด

เมื่อครบกำหนดในแต่ละช่วงเดือน ที่ปรึกษาจะนำข้อมูลต่าง ๆ ข้างต้น มารวบรวมจัดทำเป็นรายงานการตรวจสอบเสนอให้กรมพิจารณาต่อไป ทั้งนี้หากกรมขอให้ที่ปรึกษาออกไปตรวจสอบข้อบกพร่องเพิ่มเติม ที่ปรึกษาก็ยินดีจะดำเนินการตามคำขอนั้นโดยทันที และจะไม่มีการคิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมแต่อย่างใด

4.3.3    งานจัดทำรายงานและเอกสาร

          ในระหว่างการดำเนินการที่ปรึกษาจะต้องส่งรายงาน เอกสารต่างๆ รวมถึงงานจัดทำ Website ให้กรม ดังนี้

(1)      รายงานแผนการปฏิบัติงาน (Inception Report) ที่ปรึกษาต้องจัดทำแผนการดำเนินงาน และกำหนดเวลาทำงานตามโครงการเสนอต่อกรมจำนวน 7 ชุด ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งให้เริ่มปฏิบัติงาน

(2)     รายงานความก้าวหน้าประจำเดือน (Monthly Progress Report)  หลังจากเริ่มปฏิบัติงานได้ครบเดือนและต่อไปทุกๆเดือน ให้ที่ปรึกษารายงานวิธีการและนำเสนอเอกสารต่างๆ ที่ต้องใช้ในการควบคุมงานตามรายการที่ได้ปฏิบัติงานในเดือนนั้นๆ รวมถึงให้เสนอแนะสิ่งที่ต้องปรับปรุงในข้อกำหนดทางเทคนิค แบบก่อสร้าง และ/หรือเอกสารต่างๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาที่เกี่ยวข้องพร้อมทั้งกำหนดแผนงานของที่ปรึกษาที่จะปฏิบัติในเดือนต่อไป และรายงานผลงานของผู้รับจ้างที่ปฏิบัติไปแล้วเป็นจำนวนร้อยละ พร้อมทั้งรายละเอียดตาม 1.4.1 ข้อ17 รวมถึงปัญหาอุปสรรคต่างๆ และแนวทางในการแก้ไข รวบรวมเป็นรายงานจัดส่งกรมเป็นจำนวน 7 ชุด ภายในเวลา 5 วัน หลังจากการปฏิบัติงานของเดือนที่จัดทำรายงานนั้น

(3)      Website ของโครงการที่มีเนื้อหาเบื้องต้นเพียงพอต่อการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ภายในเวลา 60 วันและมีระบบ Data Base เพื่อรายงานผลข้อมูลการบริหารและควบคุมการก่อสร้างของโครงการ พร้อมระบบการสืบค้นข้อมูลภายใน 90 วัน ตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งให้เริ่มปฏิบัติงานได้ และการปรับปรุงข้อมูลของโครงการให้เป็นปัจจุบัน (update) ภายในวันที่ 5 ของทุกๆเดือน

(4)      รายงานขั้นสุดท้าย (Final Report) บรรยายผลการปฏิบัติงานของบุคลากรหลักทุกตำแหน่งตามหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ปัญหาอุปสรรค พร้อมแนวทางและวิธีการแก้ไข ตั้งแต่เริ่มต้นจนการก่อสร้างแล้วเสร็จ พร้อมสรุปปริมาณงาน ค่าก่อสร้าง ค่าควบคุมงาน และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ถือเป็นงบลงทุนของโครงการทั้งหมด จัดส่งกรมเป็นจำนวน 7 ชุด ภายในเวลา 30 วัน ภายหลังจากงานก่อสร้างแล้วเสร็จ

(5)      รายงานผลการประเมินความพังพอใจของโครงการ จัดส่งกรมเป็น จำนวน 7 ชุด ภายในเวลา 90 วัน ภายหลังจากงานก่อสร้างแล้วเสร็จ

(6)      รายงานการวิเคราะห์ความคุ้มทุนและประโยชน์ที่รับจากโครงการ จัดส่งกรมเป็น จำนวน 7 ชุด ภายใน 90 วัน ภายหลังจากงานก่อสร้างแล้วเสร็จ

(7)      แบบก่อสร้างจริง (As-built Drawings) จัดส่งให้กรมภายในเวลา 60 วัน ภายหลังจากงานก่อสร้างแล้วเสร็จ โดยส่งแบบต้นฉบับพิมพ์ขาว ขนาด A1 และ A3จำนวนอย่างละ 3 ชุด

(8)      สื่อดิจิตอล ตามข้อ 1.4.2 ข้อ1 จำนวน 2 ชุด จัดส่งให้กรมในระยะเวลาไม่เกิน กึ่งหนึ่งของสัญญา

(9)      สื่อดิจิตอล DVD และ Presentation set ตามข้อ 1.4.2 ข้อ1, 1.4.2 ข้อ2, 1.4.2 ข้อ3 และข้อ 1.4.2 ข้อ4 จัดส่งให้กรมภายในเวลา 60 วัน ภายหลังจากงานก่อสร้างแล้วเสร็จ จำนวนอย่างละ 2 ชุด

(10)    Portable Hard Disk ตามข้อ 1.4.2 ข้อ5 ที่บรรจุข้อมูลรายงาน และบันทึกต่าง ๆ ที่ใช้ในการควบคุมงานในรูป File Acrobat เช่น รายงานผลการปฏิบัติงานประจำวัน รายงานผลการทดสอบวัสดุ เอกสารการส่งงาน หนังสือเร่งรัดผู้รับจ้าง หนังสือสั่งการให้ผู้รับจ้างแก้ไขงาน เป็นต้น โดยจัดส่งให้กรมภายใน 60 วัน ภายหลังจากงานก่อสร้างแล้วเสร็จ จำนวน 2 ชุด

(11)    คู่มือการตรวจสอบบำรุงรักษาของโครงการ จำนวน 2 ชุด ภายในเวลา 60 วัน ภายหลังจากงานก่อสร้างแล้วเสร็จ

(12)    รายงานการตรวจสอบโครงการช่วงระยะเวลารับประกันทุก 2 เดือน ภายในระยะเวลา 2 ปี    จำนวนครั้งละ 2 ชุด ทั้งนี้ที่ปรึกษาต้องส่งร่างรายงาน Final Report ที่ระยะ 2 เดือนสุดท้ายก่อนงานก่อสร้างแล้วเสร็จ มิเช่นนั้นจะไม่พิจารณาตรวจรับงานของที่ปรึกษาในงวดสุดท้าย ทั้งนี้ ที่ปรึกษาต้องส่งมอบคู่มือเอกสารรายงานต่าง ๆ ตามข้อ 1.6 ในรูปแบบของสื่อดิจิตอล DVD ที่มาอายุการใช้งานไม่น้อยกว่า 5 ปี ให้กับกรมด้วย