บทที่ 4 ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไข

บทที่ 4

ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไข

4.1 ปัญหาอุปสรรค และแนวทางแก้ไข ประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2562

ปัญหาด้านหน้างาน

  1. เรื่องการรื้อย้ายไฟฟ้า กม.10+125 - กม.12+873 เหลือการรื้อถอนเสาไฟฟ้าด้านขวาทาง

แนวทางการแก้ไข : ประสานงานกับการไฟฟ้านครหลวง เพื่อเร่งรัดให้การไฟฟ้านครหลวงรื้อย้ายเสาไฟฟ้าด้านขวาทาง ซึ่งในขณะนี้ทางการไฟฟ้านครหลวงกำลังดำเนินการรื้อถอนเสาไฟฟ้าด้านขวาทาง

ปัญหาด้านการก่อสร้าง

  1. สะพานตัวที่1: จากรายการคำนวณ Janbu ' s  Formula  เสาเข็มที่ตอก Blow Count ไม่ผ่านอยู่ 2 ต้น คือ ต้นที่8 P4, ต้นที่4 P2และได้ทำการทดสอบด้วยวิธีDynamic Load Testต้นที่8 P4 เพียงต้นเดียวได้ค่ากำลังแบกทานประลัย 1,515 kn. ตามแบบก่อสร้างต้องได้ 1,212 kn.ซึ่งผ่านการทดสอบ แต่ต้นที่4 P2 ไม่ได้ทำการทดสอบแต่อย่างใด และในขณะนี้ที่ปรึกษาได้ออกหนังสือถึงผู้รับจ้างให้รับรองผลต้นที่ไม่ได้ทำการทดสอบด้วย

แนวทางการแก้ไข :ให้ทางผู้รับจ้างรับรองผลการทดสอบเสาเข็มต้นที่4 P2 เพื่อให้ทาง ปรึกษาและทางโครงการพิจารณาต่อไป

  1. สะพานตัวที่1: ผลการทดสอบกำลังอัดตัวอย่างคอนกรีต ของโครงสร้างเสาสะพาน P-2, P-3 ได้ค่ากำลังอัดตัวอย่างที่ 1 เท่ากับ 280.90 ksc., ตัวอย่างที่ 2 เท่ากับ 271.84 ksc., ตัวอย่างที่ 3 เท่ากับ 289.96 ksc., ตัวอย่างที่ 4 เท่ากับ 321.68 ksc.เฉลื่ย เท่ากับ 291.1 ksc. ได้ 97% ซึ่งไม่ผ่านเกณฑ์การทดสอบ  ค.3 เท่ากับ 300 ksc. ตามที่ได้กำหนดไว้ในเอกสารหมายเลข 4

แนวทางการแก้ไข :ให้ทางผู้รับจ้างเสนอวิธีการแก้ไขปัญหา เพื่อให้ทาง ปรึกษาและโครงการพิจารณาต่อไป ซึ่งในขณะนี้ทางผู้รับจ้างได้ส่งหนังสือขอทดสอบรับค่ากำลังอัดคอนกรีต แต่ทางที่ปรึกษามีหนังสือตอบกลับให้ทางผู้รับจ้างนำเสนอมาตรฐานการทดสอบ ว่าใช้มาตรฐานอะไรในการทดสอบรับค่ากำลังอัดคอนกรีต

  1. สะพานตัวที่ 1 :เสาเข็มต้นที่1P1 ไม่สามารถรับกำลังได้ผู้รับจ้างได้ทำการตอกเสาเข็มแซมจำนวน 1 ต้น และในขณะนี้ผู้รับจ้างกำลังดำเนินการจัดทำรายการคำนวณพร้อมนำเสนอรูปแบบให้กับทางที่ปรึกษา จึงไม่สามารถดำเนินการในขั้นต่อไปได้

แนวทางการแก้ไข :ให้ทางผู้รับจ้างรีบจัดทำรายการคำนวณพร้อมรูปแบบในการก่อสร้าง เพื่อให้ทางที่ปรึกษาและโครงการพิจารณาต่อไป

  1. สะพานตัวที่3 :จากรายการคำนวณ Janbu ' s  Formula  เสาเข็มที่ตอก Blow Count ไม่ผ่านอยู่2 ต้น คือ ต้นที่6 P1 และต้นที่15 P4 ผู้รับจ้างได้ทำการทดสอบเสาเข็มด้วยวิธี Dynamic Load Test และ SeismicLoad Testแล้วจำนวน 2 ต้น ผลการทดสอบไม่ผ่านทั้ง 2 ต้น ซึ่งในขณะนี้ผู้รับจ้างกำลังดำเนินการหาวิธีแก้ไข ทำให้ไม่สามารถดำเนินการในขั้นต่อไปได้

แนวทางการแก้ไข :ให้ทางผู้รับจ้างเสนอวิธีการแก้ไขปัญหา เพื่อให้ทาง ปรึกษาและโครงการพิจารณาต่อไป

  1. เสาเข็มกำแพงกันดิน : จากแบบก่อสร้างกำหนดให้ระยะห่างระหว่างเสาเข็มเท่ากับ 1.00เมตร (กึ่งกลางเสาถึงกึ่งกลางเสา) แต่เสาเข็มที่ตอกหน้างานช่วง กม.ที่ 9+800 มีระยะห่างระหว่างเสาเข็ม1.65 เมตร อยู่หนึ่งช่วง ซึ่งเกินจากที่แบบก่อสร้างกำหนด และต้องได้รับการแก้ไข ซึ่งในขณะนี้ผู้รับจ้างยังไม่มีการดำเนินการแต่อย่างใด

แนวทางการแก้ไข :ให้ทางผู้รับจ้างเสนอวิธีการแก้ไขปัญหา เพื่อให้ทาง ปรึกษาและโครงการพิจารณาต่อไป

  1. การเสียบแผ่นกำแพงกันดิน :ในบางช่วงเสา ผู้รับจ้างไม่สามารถติดตั้งแผ่นกำแพงดินให้เป็นไปตามแบบก่อสร้างได้ ซึ่งในขณะนี้ ผู้รับจ้างยังไม่มีการดำเนินการแต่อย่างใด

แนวทางการแก้ไข :ให้ทางผู้รับจ้างเสนอวิธีการแก้ไขปัญหา เพื่อให้ทาง ปรึกษาและโครงการพิจารณาต่อไป