หน้าหลัก

เนื่องจากอำเภอพุนพิน มีแม่น้ำตาปีไหลผ่าน ทำให้เป็นอุปสรรคในการเดินทางเชื่อมต่อกันระหว่างพื้นที่โดยทั้งสองฝั่งของแม่น้ำมีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 401 กับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 417 เป็นสายทางที่ขนานไปตามลำน้ำการก่อสร้างถนนเชื่อมโยงทั้งสองฝั่งจะทำให้การเดินทางมีความสะดวกยิ่งขึ้น โดยผู้สัญจรไม่ต้องเดินทางอ้อม สามารถลดระยะการเดินทางได้ประมาณ 10 กิโลเมตรโดยทำการออกแบบสะพานข้ามแม่น้ำตาปี พร้อมถนนทั้งสองฝั่งเพื่อเชื่อมโยงระหว่างทางหลวงเกิดเป็นโครงข่ายสายทางที่สมบูรณ์ อีกทั้งถนนที่เชื่อมต่อจะเป็นทางเลี่ยงเมือง ทางลัดในการขนส่งสินค้าประหยัดเวลาการเดินทาง และลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิง และลักษณะโครงการดังกล่าวมีความซับซ้อน เพราะจะต้องสำรวจแนวถนนตัดใหม่

     โดยจุดเริ่มต้นโครงการเชื่อมต่อกับบริเวณแยกถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 401 ซึ่งเป็นเส้นทางหลักที่เชื่อมระหว่างจังหวัดสุราษฎร์ธานีกับจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีเส้นทางเริ่มจากใกล้ๆ อำเภอตะกั่วป่า ในช่วงแรกเป็นถนน 2 ช่องจราจร จากนั้นวิ่งไปทางตะวันออก เข้าสู่จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยผ่านอำเภอพนมอำเภอบ้านตาขุน อำเภอคีรีรัฐนิคมจากนั้นได้ขยายเป็น 4 ช่องจราจรไปยังอำเภอพุนพิน และต่อไปยังตัวเมืองสุราษฎร์ธานี อำเภอกาญจนดิษฐ์ จากนั้นก็เข้าสู่เขตจังหวัดนครศรีธรรมราชที่อำเภอขนอม แต่ไม่ได้ผ่านตัวอำเภอขนอม จากนั้นก็วิ่งลงใต้ผ่านอำเภอสิชล อำเภอท่าศาลา และสิ้นสุดที่บ้านท่าแพ ประมาณ 10 กิโลเมตร ทางเหนือของตัวเมืองนครศรีธรรมราช ระยะทางทั้งหมดประมาณ 290 กิโลเมตร อยู่ในจังหวัดพังงาประมาณ 25 กิโลเมตร อยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีประมาณ 175 กิโลเมตร และอยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราชประมาณ 90 กิโลเมตร โดยสภาพปัจจุบันของถนนโครงการตามแนวสายทางโครงการแสดงในรูปที่ 3.2.1-4 ถึง รูปที่ 3.2.1-6

     ซึ่งในช่วงจุดสิ้นสุดโครงการจะเชื่อมต่อกับบริเวณแยกถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 417 สายท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี - ค้อล่าง เป็นถนน 4 ช่องจราจร เป็นทางหลวงแผ่นดินที่มีระยะทางตั้งแต่แยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41 อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ถึง แยกค้อล่าง อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี และเชื่อมต่อกับโครงการก่อสร้างถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 420 สายวงแหวนรอบเมืองสุราษฎร์ธานี อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งปัจจุบันได้เริ่มทำการก่อสร้างแล้ว โดยโครงการก่อสร้างนี้ มีจุดเริ่มต้นโครงการเริ่มจาก ช่วง กม. 18+300 ถึง กม. 21+100 ระยะทาง 2.800 กม. พร้อมก่อสร้างระบบระบายน้ำติดตั้งระบบไฟฟ้าแสงสว่างและเครื่องหมายจราจรพร้อมอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัย ซึ่งกำหนดการกำหนดระยะเวลาในการก่อสร้างไว้ 210 วัน 

แสดงภาพโครงการก่อสร้างถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 420 สายวงแหวนรอบเมืองสุราษฎร์ธานี

 อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ในการออกแบบก่อสร้างโครงการดังกล่าวมีความซับซ้อน เพราะจะต้องสำรวจแนวถนนตัดใหม่ จำเป็นต้องมีการทำส่วนร่วมประชาชน ศึกษาผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น พร้อมทั้งทำการวิเคราะห์และคาดการณ์ปริมาณจราจรบริเวณพื้นที่โครงการ อีกทั้งแนวถนนโครงการตัดผ่าน แม่น้ำตาปี ซึ่งจะต้องทำการวิเคราะห์เสถียรภาพชั้นดินบริเวณตลิ่งและกลางน้ำ และต้องออกแบบโครงสร้างสะพานให้มั่นคงแข็งแรงและทนทานต่อสภาพแวดล้อม และก่อสร้างถนนใหม่ ระยะทางประมาณ 2.500 กิโลเมตร

     จากการสำรวจพื้นที่ที่จะทำการออกแบบโครงการ บริเวณจุดเริ่มต้นโครงการแยก ทล.401 โดยด้านซ้ายทางสามารถเดินทางไป อ.พุนพิน ด้านขวาทางสามารถไป อ.เมืองสุราษฎร์ธานี และทางตรงสามารถไป จ.พังงา บริเวณจุดสิ้นสุดโครงการ แยก ทล.417 ด้านซ้ายทางสามารถเดินทางไป จ.ชุมพร ด้านขวาทางสามารถเดินทางไป อ.เมืองสุราษฎร์ธานี และทางตรงสามารถไป จ.นครศรีธรรมราช

     สะพานข้างเคียงของพื้นที่โครงการ สำรวจทั้งหมด 3 สะพาน  

1) สะพานพระจุลจอมเกล้า และสะพานพระจุลจอมเกล้า2 (สะพานข้างเคียงด้านเหนือน้ำ) โดยสะพานพระจุลจอมเกล้า โครงสร้างสะพานคู่ข้ามลำน้ำ ขนาด 2 ช่องจราจร ความยาวช่วงสะพาน 75 เมตร 3 ช่วง ความยาวสะพานทั้งหมด 225.00 เมตร และสะพานพระจุลจอมเกล้า2 โครงสร้างสะพานคู่ข้ามลำน้ำ ขนาด 6 ช่องจราจร ความยาวช่วงสะพาน 30,45 และ60 เมตร ความยาวสะพานทั้งหมด 465.00 เมตร ดังแสดงในรูปที่ 1.5-5   

2) สะพานข้ามแม่น้ำตาปี (สะพานข้างเคียงด้านท้ายน้ำ) โครงสร้างสะพานคู่ข้ามลำน้ำ ขนาด 4 ช่องจราจร ความยาวช่วงสะพาน 10 และ 30 เมตร ความยาวสะพานทั้งหมด 230.00 เมตร ดังแสดงในรูปที่ 1.5-6

3)         สะพานของ อบต.คลองน้อย โครงสร้างสะพานข้ามลำน้ำ ขนาด 1 ช่องจราจร ความยาวช่วงสะพาน 6 และ 8 เมตร ความยาวสะพานทั้งหมด 20.00 เมตร

แสดงสะพานพระจุลจอมเกล้า และสะพานพระจุลจอมเกล้า2 (สะพานข้างเคียงด้านเหนือน้ำ)

 

แสดงสะพานข้ามแม่น้ำตาปี (สะพานข้างเคียงด้านท้ายน้ำ)

 

แสดงสะพานข้ามแม่น้ำตาปี (สะพานข้างเคียงด้านท้ายน้ำ)

 

แสดงสะพานของ อบต.คลองน้อย